ลักษณะอากาศทั่วไป
29 มี.ค. 2566รูปภาพ:
แผนที่อากาศ
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ภาคเหนือมีฝุ่นละออง/หมอกควันสะสมมากเนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคอื่นๆ มีการสะสมลดลงเนื่องจากมีฝนตก
พยากรณ์อากาศกรุงเทพฯ และปริมณฑล
06:00 น. วันนี้ - 06:00 น. วันพรุ่งนี้
อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ออกประกาศ 29 มีนาคม 2566 00:00
สภาพอากาศรายจังหวัดเพิ่มเติม
อากาศ 7 วัน ข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 2 เมษายน พ.ศ. 2566คาดหมาย
ในช่วงวันที่ 28 – 29 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 30 มี.ค. – 3 เม.ย. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
สำหรับลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่งเกิดขึ้นได้ ตลอดช่วง
ออกประกาศ 28 มี.ค. 2566
อากาศ 7 วัน ที่ผ่านมา
20 มีนาคม 2566 - 26 มีนาคม 2566คาดหมาย
ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนตลอดสัปดาห์ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในวันแรกของสัปดาห์จากนั้นมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวในวันถัดมา นอกจากนี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนบางพื้นที่ตลอดสัปดาห์ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว โดยวันสุดท้ายของสัปดาห์มีลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้มีฝนบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์
ออกประกาศ 27 มี.ค. 2566
ข้อมูลย้อนหลัง
อากาศรายเดือน
เมษายน 2566คาดหมาย
ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนอบอ้าวเป็นระยะๆ
กับมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในบางช่วง โดยเฉพาะภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนบนของทั้งภาคกลางและภาคตะวันออก อุณหภูมิสูงที่สุดจะสูงถึง 41 - 43
องศาเซลเซียส แต่จะมีฝนฟ้าคะนองในบางช่วง ซึ่งช่วยคลายความร้อนลงได้บ้าง
เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเป็นระยะๆ
ประกอบกับลมใต้หรือลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน สำหรับภาคใต้
ยังคงมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในบางวัน กับจะมีฝนเพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกในช่วงปลายเดือน
ทั้งนี้เนื่องจากลมตะวันออกหรือลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้
แต่ในช่วงปลายเดือนจะเริ่มเปลี่ยนเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้
สรุปเดือนนี้
คาดว่า ประเทศไทยอุณหภูมิเฉลี่ยจะใกล้เคียงค่าปกติ สำหรับปริมาณฝนรวมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงจะน้อยกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 10
ส่วนภาคอื่นๆ จะน้อยกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ
5
ออกประกาศ 01 เมษายน 2566